เส้นทางสู่อาชีพครู (ตอนที่ 2 – หลักสูตรปริญญาตรีสำหรับอาชีพครู)

ผู้ที่ประสงค์จะสมัครสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการครูต้องเตรียมตัวอย่างไร
ปัจจุบัน ศธ. รับสมัครคัดเลือกผู้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรีสาขาต่างๆ เข้ามารับราชการครู ดังนั้น จำเป็นจะต้องสำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือแต่เดิมนิยมเรียกว่า วิชาเอก เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา พละศึกษา เป็นต้น สำเร็จปริญญาตรีสาขาใดจะมีสิทธิ์สมัครสอบครูในตำแหน่งที่ได้ประกาศคุณสมบัติไว้แล้วเท่านั้น

โดยทั่วไปผู้สำเร็จระดับปริญญาตรีที่มีสิทธิ์สมัครสอบเข้ารับราชการครู แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • ปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง  ได้แก่ ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) และการศึกบัณฑิต (กศ.บ.) ผู้สำเร็จปริญญาตรีเหล่านี้มีการเรียนเพิ่มเติมในวิชาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จิตวิทยาการศึกษา และการบริหารการศึกษา รวมทั้งมีการฝึกงานประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียน (ฝึกสอน) ซึ่งเป็นการที่นักศึกษาออกไปฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครูในโรงเรียนร่วมพัฒนา วิชาชีพโดยใช้เวลาต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเรียนรู้ฝึกฝน และทำความเข้าใจในงานครูจนเกิดทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เหมาะสมเพียงพอที่จะประกอบอาชีพครูต่อไปในอนาคตอย่างมี ประสิทธิภาพ การฝึกสอนนั้นเป็นนักศึกษาปีสุดท้าย (ปีที่ 4) ใช้เวลาประมาณ 450 ชั่วโมง หรือ ประมาณ 3 – 4 เดือน บางมหาวิทยาลัยกำหนดฝึกสอนจนถึงช่วงสอบปลายภาคของโรงเรียนดังนั้น จึงมีคุณสมบัติที่สามารถยื่นสมัครได้ทันทีโดยไม่มีต้องมีประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หรือใบรับรองอื่นๆ เพิ่มเติม ขอยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษา 
    ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย ม.นครพนม ม.กาฬสินธุ์ ม.วลัยลักษณ์ ฯ
       – ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) เช่น ม.เกษตรศาสตร์ ม.ศิลปากร ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น ม.สงขลา ม.มหามกุฎ ฯ
    การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) เช่น ม.ศรีนครนทรวิโรฒ ม.สงขลา ม.ทักษิน ฯ
    ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (คอ.บ.) เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (ลาดกระบัง พระนครเหนือ ธนบุรี) ม.ราชมงคล ฯ
        ระยะเวลาการเรียนของ 4 หลักสูตรดังกล่าวส่วนมากเป็นหลักสูตร 4 ปี และมีหลักสูตร 5 ปี (ผู้สำเร็จ ม.6 เมื่อแรกเข้า) ในบางมหาวิทยาลัย
  • ปริญญาตรีสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องการศึกษาโดยตรง เป็นสาขาวิชาที่มุ่งเน้นไปในทางวิชาการ เช่น วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) ศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) บริหารธุกิจบัณฑิต (บธ.บ.) นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) รัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) เป็นต้น ซึ่งสาขาเหล่านี้มีการกำหนดให้เป็นคุณสมบัติที่ใช้สมัครได้ เช่น วท.บ. เคมี มีสิทธิ์สมัคร ครูเอกวิชาเคมี วศ.บ. มีสิทธิ์สมัคร ครูเอกวิชาฟิสิกส์ ศศ.บ. ภาษาอังกฤษ มีสิทธิ์สมัคร ครูเอกวิชาภาษาอังกฤษ ศศ.บ. รัฐศาสตร์ มีสิทธิ์สมัคร ครูเอกวิชาสังคมศึกษา เป็นต้น  เมื่อก่อนสามารถยื่นสมัครได้ทันที่เนื่องจากขาดแคลนครู ต่อมามีการกำหนดว่าต้องผ่านการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู หรือที่รู้จักทั่วไปว่า “ป. บัณฑิต (วิชาชีพครู)” ช่วงแรกบัณฑิตปริญญาตรีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรงสามารถสมัครเรียนหลักสูตร ป. บัณฑิตได้ง่ายในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ต่อมาพบว่าบัณฑิตเหล่านั้นมีประสิทธิภาพการสอนไม่ดีเท่าที่ควร เช่น บางคนทำงานบริษัท ไม่มีประสบการณ์และทักษะการสอนแต่อยากสมัครสอบครู เป็นต้น จึงมีการกำหนดคุณมบัติเพิ่มขึ้นใหม่โดยที่ให้เรียนไม่น้อยกว่า 34 หน่วยกิต ระยะเวลาประมาณ 1 ปี กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์เรียนหลักสูตร ป.บัณฑิต ดังนี้ (1) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี (ยังไม่ผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทุกสาขาในหลักสูตร วท.บ. วศ.บ. ศศ.บ. บธ.บ. ร.บ. ฯลฯ) (2) ต้องเป็นผู้ที่มีสัญญาจ้างจากสถานศึกษาในตำแหน่งครูผู้สอน (3) ต้องเป็นผู้ปฏิบัติการสอนอยู่ในสถานศึกษา และ (4) มีหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 อนุญาตให้ประกอบวิชาชีพภายใต้บทบังคับแห่งกฎหมาและข้อบังคับของคุรุสภาที่ยังไม่หมดอายุการใช้งาน โดยสรุปบัณฑิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรงจะต้องทำงานในตำแหน่งครูผู้สอน (สัญญาจ้าง) และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์สมัครเรียนหลักสูตร ป. บัณฑิตซึ่งเปิดการเรียนการสอนทั้งในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน

อ่านต่อตอนที่ 3 ตำแหน่งที่รับสมัครและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ >>>

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top