เส้นทางสู่อาชีพครู (ตอนที่ 3 – ตำแหน่งที่รับสมัครและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ)

ตำแหน่ง

ผู้ที่สอบผ่านและได้รับการบรรจุเข้ารับราชการครู เริ่มแรกจะเป็นตำแหน่ง “ครูผู้ช่วย” จากนั้นจะมีการเลื่อนระดับตามอายุงานและผลงานทางวิชาการ เรียกว่า “เลือนวิทยฐานะ” ซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไป ทั้งนี้ครูผู้ช่วยจะได้รับอัตราเงินเดือนแตกต่างกัน ดังนี้

  • สำหรับผู้ใด้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) อัตราเงินเดือนชั้น 15,050 บาท
  • สำหรับผู้ใด้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) และได้รับวุฒิประกาศนียปัตรบัณฑิตที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี) อัตราเงินเดือนขั้น 15,800 บาท
  • สำหรับผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) อัตราเงินเดือนชั้น 15,800 บาท
  • สำหรับผู้ใด้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตร 6 ปี) อัตราเงินเดือนชั้น 17,690 บาท

คุณสมบัติผู้สมัครสอบ

คุณสมบัติทั่วไป

  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  • ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
  • ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)
  • ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น หรือถูกสั่งพัก หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายองค์กรวิชาชีพนั้น ๆ
  • ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีสำหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • ไม่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
  • ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  • ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ
  • ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
  • ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

คุณสมบัติเฉพาะ

  • มีวุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือปริญญาอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รับรองเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้
  • มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือหลักฐานที่คุรุสภาออกให้สำหรับปฏิบัติหน้าที่สอนไม่หลังวันรับสมัครสอบแข่งขันวันสุดท้ายและยังไม่หมดอายุ เว้นแต่ ผู้สมัครสอบแข่งขันที่มีคุณวุฒิในกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกที่ขาดแคลนหรือมีความจำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นพิเศษ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือหลักฐานที่คุรุสภาออกให้สำหรับปฏิบัติหน้าที่สอนก่อนบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีผู้สมัครสอบแข่งขันซึ่งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการอื่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติตามประกาศแล้งต้องมีหนังสืออนุญาตจากผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้สมัครสอบแข่งขันและยินยอมให้ย้ายหรือโอนเมื่อสอบแข่งขันได้ โดยให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งครูผู้ช่วยและรับเงินเดือนอันดับครูผู้ช่วย ตามที่กำหนดไว้ในประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ทั้งนี้ ในวันสมัครสอบแข่งขัน ผู้สมัครต้องรับรองตนเองด้วยว่าในวันบรรจุและแต่งตั้งไม่ติดเงื่อนไขอื่นใดที่หน่วยงานหรือส่วนราชการที่ตนสังกัดอยู่เดิมกำหนด
  • สาขาขาดแคลนไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพคร ได้แก่ ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษาพม่า ภาษาเขมร ภาษาเวีบดนาม การพยาบาล กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด อรรถบำบัด จิตวิทยาคลินิก ดนตรีพื้นเมือง และแพทย์แผนไทย ทั้งนี้ อาจแตกต่างจากนี้ขึ้นอยู่กับประกาศในแต่ละปีที่รับสมัครและในแต่ละสำนักงานพื้นที่การศึกษาฯ ที่ประกาศรับสมัคร
  • ไม่เป็นพระภิกษุ สามเณร ตามคำสั่งเถรสมาคม เรื่อง ห้ามภิกษุ สามเณรเรียนวิชาชีพ หรือสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือกอย่างคฤหัสถ์ สั่ง ณ วันที่ 17 มีนาคม 2538

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์รับสมัครคัดเลือกเข้ารัยราชการครู
กำหนดคุณสมบัติตามสาขาวิชาเอกที่สำเร็จปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ดังนี้

☐ กลุ่มวิชาเอกคณิตศาสตร์

  • คณิตศาสตร์
  • คณิตศาสตร์ประยุกต์
  • การสอนคณิตศาสตร์
  • คณิตศาสตร์ศึกษา
  • การศึกษาคณิตศาสตร์
  • สถิติศาสตร์
  • สถิติประยุกต์
  • สถิติคณิตศาสตร์ / คณิตศาสตร์สถิติ
  • คณิตศาสตร์-เศรษฐมิติ
  • คณิตศาสตร์เชิงคอมพิวเตอร์
  • คณิตศาสตร์ประกันภัย
  • โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์

☐ กลุ่มวิชาเอกภาษาไทย

  • ภาษาไทย
  • การสอนภาษาไทย / วิธีสอนภาษาไทย
  • ภาษาและวัฒนธรรมไทย
  • ภาษาและวรรณคดีไทย
  • วรรณคดีไทย
  • ภาษาไทยศึกษา / ไทยศึกษา
  • ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร / ภาษาไทยและการสื่อสาร
  • การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง
  • ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ
  • ภาษาไทยธุรกิจ
  • ภาษาศาสตร์ภาษาไทย
  • ภาษาไทยและภาษาตะวันออก

  • ☐ กลุ่มวิชาเอกภาษาอังกฤษ

    • ภาษาอังกฤษ
    • การสอนภาษาอังกฤษ
    • ภาษาอังกฤษศึกษา
    • ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ/วรรณคดีอังกฤษ
    • ภาษาอังกฤษธุรกิจ
    • ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
    • ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศ
    • ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว
    • ภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ
    • ภาษาอังกฤษชั้นสูง

    ☐ กลุ่มวิชาเอกภาษาจีน

    • การสอนภาษาจีน
    • ภาษาจีน
    • ภาษาจีนกลาง
    • ภาษาจีนธุรกิจ
    • การสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ
    • ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
    • ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
    • ภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรม
    • ภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรมบริการ

    • ☐ กลุ่มวิชาเอกภาษาเกาหลี

      • ภาษาเกาหลี
      • เกาหลีศึกษา
      • การสอนภาษาเกาหลี

      ☐ กลุ่มวิชาเอกภาษามลายู

      • ภาษามลายู
      • มลายูศึกษา
      • การสอนภาษาภาษามลายู

      ☐ กลุ่มวิชาเอกภาษาฝรั่งเศส

      • ภาษาฝรั่งเศส
      • การสอนภาษาภาษาฝรั่งเศส

      ☐ กลุ่มวิชาเอกสังคมศึกษา

      • สังคมศึกษา
      • การสอนสังคมศึกษา
      • สังคมวิทยา
      • สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
      • สังคมศาสตร์
      • สังคมศาสตร์การพัฒนา
      • สังคมสงเคราะห์/สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
      • พัฒนาชุมชน/พัฒนาสังคม
      • รัฐศาสตร์
      • รัฐประศาสนศาสตร์
      • นิติศาสตร์
      • ภูมิศาสตร์
      • การสอนภูมิศาสตร์
      • ประวัติศาสตร์
      • ประวัติศาสตร์ศิลปะ
      • ศาสนา
      • ปรัชญา
      • ศาสนาและปรัชญา
      • จริยศึกษา
      • บาลีพุทธศาสตร์
      • พุทธจิตวิทยา
      • พุทธศาสนา
      • พระพุทธศาสนา
      • การสอนพุทธศาสนา
      • ศาสนาศึกษา/ศาสนศึกษา
      • ศาสนาเปรียบเทียบ
      • การสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
      • วัฒนธรรมศึกษา
      • โบราณคดี
      • ไทยคดีศึกษา

      ☐ กลุ่มวิชาเอกพละศึกษา

      • พลศึกษา
      • วิทยาศาสตร์การกีฬา
      • การฝึกและการจัดการกีฬา
      • การสอนพละศึกษา
      • วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
      • พละศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ
      • พละศึกษาและวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย
      • พละศึกษาและสุขศึกษา
      • พลานามัย
      • สันทนาการ
      • สุขศึกษา
      • การสอนสุขศึกษา
      • การสอนสุขศึกษาและพละศึกษา

      ☐ กลุ่มวิชาเอกสุขศึกษา

      • สุขศึกษา
      • การสอนสุขศึกษา
      • การสอนสุขศึกษาและพละศึกษา
      • ชีวอนามัย
      • อนามัยครอบครัว
      • สาธารณสุขศาสตร์
      • ศึกษาศาสตร์-สุขศึกษา
      • สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ

      ☐ กลุ่มวิชาเอกวิทยาศาสตร์

      • วิทยาศาสตร์
      • วิทยาศาสตร์ศึกษา/วิทยาศาสตร์การศึกษา/การศึกษาวิทยาศาสตร์
      • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
      • วิทยาศาสตร์กายภาพ
      • วิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพ
      • วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
      • การสอนวิทยาศาสตร์
      • การสอนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
      • การสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ
      • การสอนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
      • การสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
      • เคมี
      • เคมีทั่วไป
      • เคมีศึกษา
      • การสอนเคมี
      • การสอนเคมีระดับมัยมศึกษา
      • เคมีเทคนิค
      • เคมีอุตสาหกรรม
      • เคมีสิ่งแวดล้อม
      • เคมีการเกษตร
      • เคมีวิเคราะห์
      • ชีวเคมี
      • อินทรีย์เคมี
      • วัสดุศาสตร
      • ชีววิทยา
      • ชีววิทยาทั่วไป
      • ชีววิทยาประยุกต์
      • การสอนชีววิทยา
      • การสอนชีววิทยาระดับมัยมศึกษา
      • วิทยาศาสตร์ชีววิทยา
      • วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
      • นิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม
      • วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม/วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม
      • จุลชีววิทยา
      • พันธุศาสตร์
      • พฤกษศาสตร์
      • สัตววิทยา
      • ฟิสิกส์
      • ฟิสิกส์ประยุกต์
      • การสอนฟิสิกส์
      • การสอนฟิสิกส์ระดับมัยมศึกษา
      • วิศวกรรมเคมี
      • เทคโนโลยีชีวภาพ
      • เทคโนโลยีชีวภาพทางพืช
      • เทคโนโลยีทางกระบวนการเคมี-ฟิสิกส์
      • เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
      • เทคโนโลยีการอาหาร
      • คณิตศาสตร์-ชีววิทยา
      • คณิตศาสตร์-เคมี
      • คณิตศาสตร์-ฟิสิกส์
      • คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์

      ☐ กลุ่มวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป

      • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
      • การสอนวิทยาศาสตร์
      • การสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
      • การสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา
      • การสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ
      • การสอนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
      • วิทยาศาสตร์กายภาพ
      • วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
      • วิทยาศาสตร์ศึกษา/วิทยาศาสตร์การศึกษา/การศึกษาวิทยาศาสตร์

      ☐ กลุ่มวิชาเอกเคมี

      • เคมี
      • เคมีทั่วไป
      • เคมีศึกษา
      • การสอนเคมี
      • การสอนเคมีระดับมัยมศึกษา
      • เคมีเทคนิค
      • เคมีอุตสาหกรรม
      • เคมีสิ่งแวดล้อม
      • เคมีการเกษตร
      • เคมีวิเคราะห์
      • ชีวเคมี
      • อินทรีย์เคมี
      • วิศวกรรมเคมี

      ☐ กลุ่มวิชาเอกฟิสิกส์

      • ฟิสิกส์
      • ฟิสิกส์ประยุกต์
      • การสอนฟิสิกส์
      • การสอนฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษา
      • ฟิสิกส์เครื่องมือวัด
      • ฟิสิกส์ประยุกส์เครื่องมือวิเคราหะ์

      ☐ กลุ่มวิชาเอกชีววิทยา

      • ชีววิทยา
      • ชีววิทยาทั่วไป
      • ชีววิทยาประยุกต์
      • การสอนชีววิทยา
      • การสอนชีววิทยาระดับมัยมศึกษา
      • วิทยาศาสตร์ชีววิทยา
      • จุลชีววิทยา
      • พันธุศาสตร์
      • พฤกษศาสตร์
      • สัตววิทยา

      ☐ กลุ่มวิชาเอกคอมพิวเตอร์

      • คอมพิวเตอร์ศึกษา
      • วิทยาการคอมพิวเตอร์
      • วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
      • ศาสตร์คอมพิวเตอร์
      • วิทยาศาสตร์ข้อมูล
      • คอมพิวเตอร์และสถิติ
      • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
      • ธุรกิจคอมพิวเตอร์
      • ระบบสารสนเทศ
      • เทคโนโลยีสารสนเทศ
      • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      • วิทยาการสารสนเทศคอมพิวเตอร์
      • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
      • คอมพิวเตอร์กราฟิกและเอนิเมชั่น
      • คอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย
      • ดิจิทัลอาร์ต
      • อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิเตอร์
      • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

      ☐ กลุ่มวิชาเอกแนะแนว

      • การแนะแนว
      • การแนะแนวการศึกษา
      • จิตวิทยา
      • จิตวิทยาการแนะแนว
      • จิตวิทยาการศึกษา
      • จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
      • จิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา
      • จิตวิทยาโรงเรียน
      • จิตวิทยาสังคม
      • จิตวิทยาพัฒนาการ
      • จิตวิทยาการทดลอง

      ☐ กลุ่มวิชาเอกดนตรี

      • ดนตรี
      • ดนตรีศึกษา
      • การสอนดุริยางคศึกษา
      • การสอนดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์
      • ดุริยางค์ไทย
      • ดุริยางค์สากล
      • ดุริยางคศิลป์/ดุริยศิลป์
      • ดุริยางคศาสตร์

      ☐ กลุ่มวิชาเอกดนตรีไทย

      • ดนตรีไทย
      • ดนตรีศึกษา
      • ดุริยางคศิลป์/ดุริยศิลป์
      • ดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา
      • ดุรยางคศาสตร์ไทย
      • การสอนดุริยางค์ไทย
      • การสอนดุริยางคศิลป์ไทยและนาฏศิลป์ไทย
      • ดุริยางค์ไทย
      • ดุริยางคศิลป์/ดุริยศิลป์
      • ดุริยางคศาสตร์

      ☐ กลุ่มวิชาเอกดนตรีสากล

      • ดนตรีสากล
      • ดนตรีสากลศึกษา
      • ดุริยางค์สากล
      • ดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา
      • ดุรยางคศาสตร์
      • การสอนดุริยางค์ไทย
      • การสอนดุริยางคศึกษา
      • คีตศิลป์สากล
      • ดุริยางคศิลป์/ดุริยะศิลป์
      • ดุริยางคศาสตร์

      ☐ กลุ่มวิชาเอกนาฎศิลป์

      • นาฎศิลป์
      • นาฎศิลป์ไทย
      • นาฎศิลป์ไทยศึกษา
      • นาฎศิลป์สากล
      • นาฎศิลป์สากลศึกศส
      • นาฎศิลป์และการละคร
      • การสอนนาฎศิลป์
      • นาฎศาสตร์
      • นาฎยศิลป์
      • นาฎยศิลป์ไทยศึกษา
      • นาฎดุริยางค์คีตศิลป์ศึกษา
      • ดนตรี-นาฎศิลป์

      ☐ กลุ่มวิชาเอกศิลปะ-ศิลปศึกษา

      • ศิลปะ
      • ศิลปะไทย
      • ศิลปศีกษา
      • ศิลปศีกษาประยุกต์
      • ศิลปกรรม/ศิลปกรรมศึกษา
      • ทัศนศิลป์
      • ศิลปะภาพพิมพ์
      • จิตรกรรม
      • ประติมากรรม
      • อุตสาหกรรมศิลป์
      • สถาปัตยกรรมไทย
      • การออกแบบศิลปะ
      • การออกแบบนิเทศศิลป์
      • หัตถศิลป์
      • มัณฑนศิลป์

      ☐ กลุ่มวิชาเอกทัศนศิลป์

      • ทัศนศิลป์
      • การออกแบบนิเทศศิลป์
      • นาฎยศิลป์
      • การออกแบบทัศนศิลป์
      • การออกแบบผลิตภัณฑ์
      • การออกแบบนวัตกรรมทัศนศิลป์
      • ศิลปศึกษาสาขาทัศนศิลป์

      ☐ กลุ่มวิชาเอกเกษตร (พืช)

      • พฤกศาสตร์
      • พืชสวน
      • พืชไร่
      • พืซศาสตร์
      • พืชผัก
      • พืชสวนประดับ
      • การผลิตพืช

      ☐ กลุ่มวิชาเอกเกษตร/เกษตรกรรม/เกษตรศาสตร์

      • เกษตรกรรม
      • เกษตรศึกษา
      • เกษตรทั่วไป
      • เกษตรศาสตร์
      • คุรุศาสตร์เกษตร
      • การเกษตร
      • พฤกศาสตร์
      • พืชศาสตร์
      • พืชสวน
      • พืชไร่/พืชไร่นา
      • พืชผัก
      • พืชสวนประดับ/ไม้ดอกไม้ประดับ
      • การผลิตพืช
      • เกษตรและสิ่งแวดล้อม
      • ไม้ผล
      • ส่งเสริมการเกษตร
      • เทคโนโลยีการเกษตร
      • วิทยาศาสตร์การเกษตร/วิทยาศาสตร์เกษตร
      • เกษตรสิ่งแวดล้อม
      • เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร
      • พัฒนาการเกษตร
      • ทรัพยากรเกษตรชีวภาพ
      • วิศกรรมการเกษตร
      • อุตสหกรรมเกษตร/อุตสหกรรมการเกษตร
      • การสอนวิชาเกษตร
      • ส่งเสริมและนิเทศศาสตร์การเกษตร
      • เกษตรศึกษา

      ☐ กลุ่มวิชาเอกคหกรรม

      • คหกรรมศาสตร์ (สาขาอาหารและโภชนาการ)
      • อาหารและโภชนาการ
      • โภชนศาสตร์
      • โภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร

      ☐ กลุ่มวิชาเอกโสตทัศนศึกษา

      • เทคโนโลยีทางการศึกษา/เทคโนโลยีการศึกษา
      • เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
      • การสื่อสารมวลชนหรือการสื่อสารมวลชนทั่วไป
      • บริการสื่อการศึกษา

      นอกจากกลุ่มวิชาเอกที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีกลุ่มวิชาเอกอื่นๆ เช่น

      • อุตสาหกรรม/อุตสาหกรรมศิลษ์
      • ประถมศึกษา/การประถมศึกษา
      • ปฐมวัย/การศึกษาปฐมวัย/อนุบาลศึกษา
      • บรรณารักษ์
      • การเงิน/การบัญชี
      • วัดผลและประเมินผลการศึกษา
      • การศึกษาพิเศษ
      • การพยาบาล
      • กายภาพบำบัด
      • กิจกรรมบำบัด
      • จิตวิทยาคลินิก
      • หูหนวกศึกษา
      • อรรถบำบัด
      • อิสลามศึกษา
      • แพทย์แผนไทย
      • อุตสาหกรรม (ก่อสร้าง/โลหะ/ไฟฟ้า/สถาปัตยกรรม)

      หมายเหตุ สาขาวิชาเอกในแต่ละกลุ่มอาจมีการกำหนดเพิ่มเติมตามประกาศของ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ของประถมศึกษา และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษาของมัธยมศึกษา

      อ่านต่อตอนที่ 4 การสอบ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top