การสอบ
(1) ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป ข้อสอบแบบหลายตัวเลือก คะแนนเต็ม 200 คะแนน แป่งเป็น
1.1 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (100 คะแนน)
1.1.1 การวิเคราะห์เชิงภาษา
– การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
– ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย
– การจับใจความสำคัญ
– การสรุปความ
– การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ
1.1.2 การวิเคราะห์เชิงนามธรรม
– การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความ หรือรูปภาพ
– การหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือส ถานการณ์ หรือแบจำลองต่างๆ
1.1.3 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
– ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น
– การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ
– การประเมินความเพียงพอของข้อมูล
1.2 ทักษะภาษาอังกฤษ (50 คะแนน)
– ความเข้าใจในหลักการสื่อสาร โดยใช้คำศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยคที่เหมาะสมทั้งในเชิงความหมาย และบริบท
– ความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
– การวัดความสามารถด้านการอ่าน โดยทดสอบการทำความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ
– การวัดความสามารถด้านดารเขียนภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น
1.3 ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (50 คะแนน)
– ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
– หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
– วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง
– หน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
– เจตคติและจริยธรรมสำหรับราชการ
(2) ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ข้อสอบแบบหลายตัวเลือก คะแนนเต็ม 200 คะแนน แป่งเป็น
2.1 มาตรฐานความรู้ทั่วไปในการในเนื้อหาวิชาที่สอน -วิชาเอก (100 คะแนน)
2.2 มาตรฐานความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน (75 คะแนน)
– การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
– จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
– หลักสูตร ศาสตร์การสอน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้
– การวัดประเมิยผลการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
– การออกแบบและการดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา
2.3 ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและแนวทางการปฏิรูปการศึกษา (25 คะแนน)
2.3.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
– รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน
– กฎหายว่าด่วยการศึกษาภาคบังคับ
– กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
– กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
– กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
– กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาราชการกระทรวงศึกษาธิการ
– กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก
– กฎหมายว่าด้วยการศึกษาปฐมวัย
2.3.2 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
– ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
– แผนการศึกษาแห่งชาติ
– นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ
3. ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง วิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา สอบสัมภาษณ์ แสดงผลงาน และสาธิตการสอน มีการให้คะแนนแบบรูบิค (แบ่งคะแนนการประเมินออกเป็นช่วงๆ) คะแนนเต็ม 100 คะแนน แป่งเป็น
3.1 คุณลักษณะส่วนบุคคล (25 คะแนน)
– บุคลิกลักษณะ ท่วงทีวาจา
– วุฒิภาวะทางอารมณ์และการมีปฏิภาณการแก้ปัญหา
– ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เจตคติ และอุดมการณ์ความเป็นครู
3.2 การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ (25 คะแนน)
– แฟ้มสะสมงาน (ประวัติการศึกษา ผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและวิชาเอกที่สำเร็จการศึกษา
การเข้าถึงชุมชนและการมีจิตสาธารณะ)
3.3 ความสามารถด้านการสอน (50 คะแนน)
– การวิเคราห์หลักสูตร การออกแบบ และการวางแผนการจัดการเรียนรู้
– ทักษะและวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสาขาวิชาและบริบทของชั้นเรียน
– ทักษะกรใช้คำถามและการตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้เรียน
– การใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีการจัดการการเรียนรู้
– การวัดและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้
เกณฑ์การประเมินผู้สอบผ่าน
รอบที่ 1 ต้องได้คะแนนภาค ก และภาค ข ภาคละ 60% (ภาคละ 120 คะแนแ) จึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบรอบที่ 2 คือ ภาค ค และภาค ค ต้องได้คะแนน 60 คะแนนขึ้นไป หรือ 60% ขึ้นไป นำคะแนนเรียงลำดับจากมากไปน้อยนำไปประกาศผลรอบสุดท้าย และขึ้นบัญชีไว้เป็นเวลา 2 ปี
การเรียกบรรจุเข้ารับราชการเป็นครูผู้ช่วย
การเรียนบรรจุเข้ารับราชการเป็นครูผู้ช่วย จะดำเนินการภายหลังได้รับอนุมติให้บรรจุครูทดแทนในตำแหน่งที่ว่าง โดยจะมีการเรียกตามลำดับก่อนหลัง เขตพื้นที่การศึกษาฯ อื่นๆ ที่ไม่ได้เปิดสอบ หรือเรียกบรรจุครบตามบัญชีประกาศฯ แล้ว แต่ยังมีอัตราว่างอยู่สามารถใช้บัญชีประกาศฯ จากเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้ถ้ายังไม่หมดอายุ