แนวทางการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์สำหรับองค์กร ตอนที่ 3 เทคนิคการตกแต่งเว็บไซต์ที่สร้างด้วย Google Sites-Ep1

หัวข้อนี้มีรายละเอียดและขั้นตอนที่ค่อนข้างยาว จะขอนำเสนอเฉพาะที่สำคัญเป็นตอนๆ เพื่อไม่ให้เนื้อหายาวเกินไป ตอนนี้ขอนำเสนอ การทำตัวหนังสือวิ่งใต้ชื่อของหน้า และการเพิ่มโค้ดนับคนเปิดเว็บไซต์ ดังนี้

การตัวหนังสือวิ่งใต้ชื่อของหน้า

เช่น  ข้อความ ยินดีต้อนรับ. . .Welcome. . .site.google.com/view/korayanis

แบบที่ 1  ตัวหนังสือวิ่งจากขวาไปซ้าย พื้นหลังมีสีตามธีม

    1.  คลิ้กที่ว่างใต้กรอบชื่อของหน้า จะแสดงเมนูวงล้อ

    1.  กดเลือก < >
    2.  เลือก ฝังโค้ด

    1.  ในกรอบวางโค้ด <html>
      พิมพ์ <marquee>ยินดีต้อนรับ. . . . .site.google.com/view/korayanis </marquee>  เสร็จแล้วกด ถัดไป (ค่าปกติ วิ่งจากขวาไปซ้าย)

    1. ข้อความที่พิมพ์ลงในกรอบจะวิ่งจากขวาไปซ้าย ตรวจข้อความอีกครั้ง ถ้าไม่มีแก้ไข กด แทรก

ปรับแต่งขนาดของเฟรมตัวหนังสือวิ่งให้กว้างเท่ากับชื่อของเรื่อง ไม่ต้องปรับความสูง

แบบที่ 2  ตัวหนังสือวิ่งจากล่างขึ้นข้างบน พื้นหลังมีสีตามธีม
<marquee direction=”up”>ยินดีต้อนรับ. . .Welcome. . .site.google.com/view/korayanis </marquee>

 แบบที่ 3  ตัวหนังสือวิ่งจากบนลงล่าง พื้นหลังมีสีตามธีม
<marquee direction=”down”>ยินดีต้อนรับ. . .Welcome. . .site.google.com/view/korayanis </marquee>

แบบที่ 4  ตัวหนังสือวิ่งจากขวาไปซ้าย  กำหนดลักษณะเพิ่ม ดังนี้

    • ตัวหนังสือใหญ่ขึ้น เป็นตัวหนังสือแสดงหัวข้อ (heading) ที่นิยมใช้เป็นตัวใหญ่สุด คือ h1 ลดลงถึง h5
    • ตัวเข้ม
    • ตัวหนังสือมีสีตามกำหนด เช่น blue-น้ำเงิน yellow-เหลือง pink-ชมพู orange-ส้ม เป็นต้น
    • สีพื้นหลัง เช่น yellow-เหลือง pink-ชมพู orange-ส้ม green-เขียว เป็นต้น
    • <marquee style=”background-color:yellow ; color=blue ;”><h3><strong>ยินดีต้อนรับ. . .Welcome. . .site.google.com/view/korayanis</strong></h3> </marquee>

ถ้าต้องการปรับความเร็วให้เพิ่มโค้ด ดังนี้

<marquee style=”background-color:yellow ; color=blue ;” scrollmout=”1”><h3><strong>ยินดีต้อนรับ. . .Welcome. . .site.google.com/view/korayanis</strong></h3> </marquee> โดยที่ scrollmout = “1” วิ่งช้าที่สุด

การทำตัวหนังสือวิ่งด้วยแท็ก <marquee style=”….”>xxxxxxx</marquee> พร้อมกับกำหนดลักษณะเพิ่มเติมในหน้าเว็บ Google Sites ไม่สามารถใช้ได้ทุกโค้ดเหมือนกับหน้าเว็บใช้โค้ด HTML ทั่วไป เช่น วิ่งสลับซ้ายขวา แต่จากตัวอย่างในแบบที่ 4 น่าจะตกแต่งหน้าเว็บให้ดูดียิ่งขึ้น

การเพิ่มโค้ดนับคนเปิดเว็บ

การนับจำนวนผู้เปิดเว็บ (view) ช่วยให้ทราบว่ามีผู้สนใจเข้ามาเปิดดูเว็บของเรามาน้อยเพียงใด

    1. เปิดเว็บไซต์ freecounterstat.com
    2. เลือก Sign up free

    1. เลือกรูปแบบที่ต้องการ

    1. ตั้งค่า

 เลือกตำแหน่งแสดงตัวเลข

6.  เลือกขนาดของตัวเลข

    1. เลือกสีพื้นหลังของตัวเลข

    1. กำหนดรูปแบบการนับ การแสดงสถิติ และยืนยัน

    1. คัดลอกโค้ด หรือส่งโค้ดทางอีเมล์ เลือกตัวนับและสถิติ (กราฟ) หรือเฉพาะตัวนับ

    1. ขอเลือกแบบมีตัวนับและสถิติ คัดลอกไปวางในคลิปบอร์ด เปิด Notepad แล้ววางโค้ด บันทึกเป็นไฟล์ txt รอไว้ก่อน

    1. ที่หน้าแก้ไข Google Sites วางเคอร์เซอร์ เลือกแสดงตัวนับที่ส่วนท้ายหน้าเว็บไซต์ คลิ้ก จะแสดงเมนูวงล้อ กดเลือก < > เพื่อวางโค้ดตัวนับ

 

    1. เลือก ฝังโค้ด คัดลอกโค้ดจาก Notepad แล้ววางลงไปในกรอบ กด ถัดไป และ แทรก

ที่หน้าเว็บไซต์จะแสดงจำนวนวิวและกราฟแท่งเคลื่อนไหว คลิ้กตรงนี่จะแสดงสถิติ

อ่านตอนที่ 3 เทคนิคตกแต่งเว็บไซต์ที่สร้างด้วย Google Sheets (ต่อ) เรื่อง เปลี่ยนฟอนต์ไทย ทำปุ่มเลือกแบบกราฟิก ทำตารางข้อมูล ทำเมนูแบบยืดได้หดได้ ที่เมนูด้านล่างขว เลือกกลุ่มแบบยุบได้ แทรกแบนเนอร์ แทรกสไลด์ แทรกวิดีโอจากยูทูป และแทรกปฏิทิน ถ้าน่าสนใจแล้วก็เชิญติดตามครับ

อ้างอิง

  • https://www.w3schools.com
  • New Google Site การทำระบบสถิติผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา โดยครูอภิวัฒน์ วงศ์กัณหา, https://youtu.be/UEBBJBO81jI

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top