เส้นทางสู่อาชีพครู (ตอนที่ 5 ความก้าวหน้า สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ)

ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ครู แบ่งตามวิทยฐานะครูจากต่ำไปสูง ดังนี้ ครูผู้ช่วย เป็นตำแหน่งที่บรรจุแต่งตั้งในระดับแรก (เทียบเท่าอาจารย์ 1 ระดับ 5 เดิม ปัจจุบันการบรรจุข้าราชการครูไมได้เริ่มที่ ซี 3-4 ดังแต่ก่อน) ครู คศ. 1 (เทียบเท่าอาจารย์ 2 ระดับ 6) ครู คศ. 2 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการ แต่งตั้งจากครู คศ. 1 (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 7 เดิม) ครู คศ. 3 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ แต่งตั้งจากครู คศ. 2 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 เดิม) ครู คศ. 4 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ แต่งตั้งจากครู คศ. 2 หรือ คศ. […]

เส้นทางสู่อาชีพครู (ตอนที่ 5 ความก้าวหน้า สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ) Read More »

เส้นทางสู่อาชีพด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ (ตอนที่ 1 หลักสูตรด้านเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยและการเตรียมตัว)

ด้วยเศรษฐกิจยุคดิจิทัลกำลังเฟื่องฟูมีการขยายฐานการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้นภายในประเทศของเรา ส่งผลให้ตลาดแรงงานด้านเทคโนโลยีคึกคักมากเป็นพิเศษ มีข้อมูลจากหลายแหล่งฟันธงให้อาชีพด้านเทคโนโลยีติด 1 ใน 3 หลายคนจึงมุ่งหวังที่จะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อประกอบอาชีพด้านเทคโนโลยีด้วยเหตุที่รู้กระแสข่าวมาว่าความต้องการคนทำงานในตำแหน่งนี้มีอัตราสูงมากและได้รับค่าตอบแทนในอัตราสูงอีกด้วยโดยเฉพาะตำแหน่งงานภาคเอกชน บริษัท โรงงาน และห้างร้าน ส่วนตำแหน่งงานในภาครัฐจะได้รับเงินเดือนในอัตราที่น้อยกว่าภาคเอกชนและใกล้เคียงกับอัตราเงินเดือนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาที่ไม่ใช่เทคโนโลยี แล้วที่ว่าอาชีพด้านเทคโนโลยีมีขอบเขตอย่างไร แต่ละด้านคืออะไร ทำงานอะไร และจะเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ที่ไหน บทความนี้มีคำตอบให้ทุกท่านที่อ่านจนจบ คำว่า “เทคโนโลยี” หมายถึง การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางปฏิบัติงาน การผลิต และการบริการทางด้านอุตสาหกรรม ดังนั้นอาชีพด้านเทคโนโลยีจึงครอบคลุมงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (บางสาขา) และบริหารธุรกิจ (บางสาขา) อาชีพด้านเทคโนโลยีที่จะกล่าวถึงนี้จะเน้นเฉพาะผู้ที่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และบริหารธุรกิจ (บางสาขา) ในความเป็นจริงยังมีหลักสูตรระดับปริญญาโทและเอก แต่ไม่ขอกล่าวถึงเนื่องจากผู้ประกอบส่วนมากหรือเกือบทั้งหมดจะรับเฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนี้เข้าทำงาน ส่วนผู้ที่จบระดับปริญญาโท/เอกส่วนมากจะเป็นไปอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย/วิทยาลัย หรือเป็นวิทยากร ต่อไปจะพูดถึงขอบเขตและงานปฏิบัติงานของแต่ละสาขาวิชาและการเรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆ 1. วิศวกรรมศาสตร์ ปริญญา – วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ระยะเวลาเรียน – 4 ปี (ต่อจาก ม.6) วิชาที่เน้นในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิศวกรรมศาสตร์ทั่วไป –

เส้นทางสู่อาชีพด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ (ตอนที่ 1 หลักสูตรด้านเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยและการเตรียมตัว) Read More »

แนวทางการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์สำหรับองค์กร (ตอนที่ 2 การสร้างเว็บไซต์แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย)

หลักการทั่วไปในการสร้างเว็บไซต์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ (1) โค้ดคำสั่งแสดงหน้าเว็บไซต์ที่เขียนด้วยภาษาเขียนเว็บไซต์ (html, PHP, ASP, Javascript, Python) โค้ดควบคุมการแสดงผล (CSS, Javascript) และรูปภาพ/ไฟล์ที่โค้ดคำสั่งเรียกใช้ (2) พื้นที่เก็บข้อมูล (hosting) ในข้อ (1) (3) โดเมน (domain) หรือชื่อของเว็บไซต์ (4) บัญชีอีเมล์ของผู้สร้างเว็บไซต์ (admin) และ (5) โปรแกรมเปิดเว็บไซต์ (browser) มีส่วนสำคัญที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายรายปี (ประมาณ 1 พันบาท) คือ ส่วนที่ (2) พื้นที่เก็บข้อมูล และ (3) โดเมน แต่มีทางเลือกที่จะไม่เสียค่าใช้จ่ายรายปีในส่วนนี้โดยการใช้บริการพื้นที่เก็บข้อมูล (hosting) และมีที่อยู่ของเว็บไซต์ (URL) ซึ่งไม่ใช่โดเมนแบบไม่มีค่าใช้จ่ายรายปี สาเหตุการเขียนบทความนี้เนื่องมาจากลืมจ่ายเงินค่าจดทะเบียนโดเมน – Domain (ชื่อเว็บ .com .net .org)

แนวทางการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์สำหรับองค์กร (ตอนที่ 2 การสร้างเว็บไซต์แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย) Read More »

แนวทางการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์สำหรับองค์กร (ตอนที่ 1 แนวคิดและหลักการ)

เว็บไซต์ (Website) มีความจำเป็นที่สำคัญต่อองค์กรต่างๆ โดยถูกใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ ไอแพด โน้ตบุ๊ค และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งเว็บไซต์มีประโยชน์ในการสื่อสาร เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและบริการต่าง ๆ เพื่อช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ ภาพลักษณ์ ความทันสมัย และความน่าเชื่อถือต่อองค์กร รวมทั้งช่วยยกระดับมาตรฐานด้านสินค้าและบริการในระดับสากล โดยที่เว็บไซต์เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ราคาถูก มีความเสถียรภาพ และนิยมใช้กันทั่วไป บทความนี้เป็นการนำเสนอความรู้ในการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เคยออกแบบและสร้างเว็บไซต์ รวมทั้งเคยเป็นวิทยากรอบรมในเรื่องนี้เป็นเวลา 10 ปีกว่า จึงอยากเล่าสู่กันฟังเพื่อแชร์ความรู้ ทั้งนี้ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงแนวทางการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ที่รวบรวมจากประสบการณ์ของผู้เขียน ถ้าเป็นการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ของหน่วยราชการต่างๆ ต้องศึกษาข้อกำหหนดเพิ่มเติมจากเอกสารมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ ดาวน์โหลดจากลิงก์ข้างล่าง   อ่านต่อตอนที่ 2 การสร้างเว็บไซต์แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย

แนวทางการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์สำหรับองค์กร (ตอนที่ 1 แนวคิดและหลักการ) Read More »

เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ Microsoft Office (ตอนที่ 1 การพิมพ์จดหมายเวียนด้วยโปรแกรม Microsoft Word)

บ่อยครั้งเราต้องเชิญคณะกรรมการหลายๆ คนเข้าร่วมประชุมในโอกาสต่างๆ สิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ “การแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร” หรือนิยมเรียกกันว่า “หนังสือเวียน” อาจเรียกว่า “บันทึกข้อความเวียน” “จดหมายเวียน” “เอกสารเวียน” แตกต่างกันไป  ส่วนในบทความนี้ขอเรียกกลางๆ ว่า “จดหมายเวียน” หลังจากเลขานุการร่าง และจัดพิมพ์เอกสารเชิญประชุมเรียบร้อยแล้ว เท่าที่ทราบได้มีการปฏิบัติ ดังนี้ วิธีที่ 1  พิมพ์ด้วยเวิร์ด ตรงคำว่า เรียน  เว้นว่างชื่อไว้ พิมพ์เอกสารออกมา 1 ฉบับ นำไปให้ประธานหรือหัวหน้าลงนามในเอกสารต้นฉบับ ถ่ายสำเนามีจำนวนเท่ากับคนที่จะเชิญประชุม แล้วเขียนหรือพิมพ์ดีดชื่อชื่อจนครบทุกคน ความสวยงามเป็นระเบียบแตกต่างกันออกไปตามคุณภาพของลายมือ เครื่องถ่ายเอกสาร และเอกพิมพ์ดีด วิธีที่ 2  เริ่มต้นเหมือนวิธีแรก แต่เลขานุการมีเวลามากหน่อย พิมพ์ชื่อทีละคนแล้วสั่งพิมพ์ที่ละชุด ได้เอกสารสวยงามเป็นระเบียบ ทั้งสองวิธีพบอยู่บ่อยๆ แต่ไม่สะดวกถ้ามีผู้เชิญประชุมหลายคนและมีการประชุมเป็นประจำตลอดทั้งปี ปีแล้วปีเล่าก็ยังไม่เสร็จสิ้นภารกิจสำคัญ  ประกอบกับเลขานุการมีงานประจำล้นมืออยู่แล้ว ย่อมเกิดปัญหาแน่ๆ บทความนี้มีทางออกช่วยเหลือเลขาฯ ให้ทำงานสะดวกและรวดเร็วโดยการใช้โปรแกรมเวิร์ดพิมพ์จดหมายเวียนเชิญคณะกรรมการประชุม เชิญติดตามต่อไปครับ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมรายชื่อคณะกรรมการทั้งหมดด้วยโปรแกรมเอ็กเซล พิมพ์คำว่า รายชื่อให้เป็นส่วนหัวของตาราง พิมพ์รายชื่อในบรรทัดที่สองลงมาจนครบทุกคน บันทึกไฟล์ ตั้งชื่อไฟล์ว่า

เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ Microsoft Office (ตอนที่ 1 การพิมพ์จดหมายเวียนด้วยโปรแกรม Microsoft Word) Read More »

เส้นทางสู่อาชีพครู (ตอนที่ 4 การสอบ)

การสอบ (1) ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป ข้อสอบแบบหลายตัวเลือก คะแนนเต็ม 200 คะแนน แป่งเป็น 1.1 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (100 คะแนน) 1.1.1 การวิเคราะห์เชิงภาษา – การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร – ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย – การจับใจความสำคัญ – การสรุปความ – การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ 1.1.2 การวิเคราะห์เชิงนามธรรม – การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความ หรือรูปภาพ – การหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือส ถานการณ์ หรือแบจำลองต่างๆ 1.1.3 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ – ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น – การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ – การประเมินความเพียงพอของข้อมูล 1.2 ทักษะภาษาอังกฤษ (50 คะแนน)

เส้นทางสู่อาชีพครู (ตอนที่ 4 การสอบ) Read More »

เส้นทางสู่อาชีพครู (ตอนที่ 3 – ตำแหน่งที่รับสมัครและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ)

ตำแหน่ง ผู้ที่สอบผ่านและได้รับการบรรจุเข้ารับราชการครู เริ่มแรกจะเป็นตำแหน่ง “ครูผู้ช่วย” จากนั้นจะมีการเลื่อนระดับตามอายุงานและผลงานทางวิชาการ เรียกว่า “เลือนวิทยฐานะ” ซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไป ทั้งนี้ครูผู้ช่วยจะได้รับอัตราเงินเดือนแตกต่างกัน ดังนี้ สำหรับผู้ใด้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) อัตราเงินเดือนชั้น 15,050 บาท สำหรับผู้ใด้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) และได้รับวุฒิประกาศนียปัตรบัณฑิตที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี) อัตราเงินเดือนขั้น 15,800 บาท สำหรับผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) อัตราเงินเดือนชั้น 15,800 บาท สำหรับผู้ใด้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตร 6 ปี) อัตราเงินเดือนชั้น 17,690 บาท คุณสมบัติผู้สมัครสอบ คุณสมบัติทั่วไป มีสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ

เส้นทางสู่อาชีพครู (ตอนที่ 3 – ตำแหน่งที่รับสมัครและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ) Read More »

เส้นทางสู่อาชีพครู (ตอนที่ 2 – หลักสูตรปริญญาตรีสำหรับอาชีพครู)

ผู้ที่ประสงค์จะสมัครสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการครูต้องเตรียมตัวอย่างไร ปัจจุบัน ศธ. รับสมัครคัดเลือกผู้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรีสาขาต่างๆ เข้ามารับราชการครู ดังนั้น จำเป็นจะต้องสำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือแต่เดิมนิยมเรียกว่า วิชาเอก เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา พละศึกษา เป็นต้น สำเร็จปริญญาตรีสาขาใดจะมีสิทธิ์สมัครสอบครูในตำแหน่งที่ได้ประกาศคุณสมบัติไว้แล้วเท่านั้น โดยทั่วไปผู้สำเร็จระดับปริญญาตรีที่มีสิทธิ์สมัครสอบเข้ารับราชการครู แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ ปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง  ได้แก่ ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) และการศึกบัณฑิต (กศ.บ.) ผู้สำเร็จปริญญาตรีเหล่านี้มีการเรียนเพิ่มเติมในวิชาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จิตวิทยาการศึกษา และการบริหารการศึกษา รวมทั้งมีการฝึกงานประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียน (ฝึกสอน) ซึ่งเป็นการที่นักศึกษาออกไปฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครูในโรงเรียนร่วมพัฒนา วิชาชีพโดยใช้เวลาต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเรียนรู้ฝึกฝน และทำความเข้าใจในงานครูจนเกิดทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เหมาะสมเพียงพอที่จะประกอบอาชีพครูต่อไปในอนาคตอย่างมี ประสิทธิภาพ การฝึกสอนนั้นเป็นนักศึกษาปีสุดท้าย (ปีที่ 4) ใช้เวลาประมาณ 450 ชั่วโมง หรือ ประมาณ 3 – 4

เส้นทางสู่อาชีพครู (ตอนที่ 2 – หลักสูตรปริญญาตรีสำหรับอาชีพครู) Read More »

เส้นทางสู่อาชีพครู (ตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัย)

“ครู” เป็นผู้ประกอบวิชาชีพหนึ่งที่นิยมเรียกว่า “แม่พิมพ์ของชาติ” หลายต่อหลายคนใฝ่ฝันที่จะประกอบอาชีพนี้ โดยเฉพาะเป็นข้าราชการครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นส่วนมาก และมีข้าราชการครูในสังกัดหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย (ครูโรงเรียนเทศบาล ครูองค์การบริหารส่วนจังหวัด) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ครู ต.ช.ด). ครูสังกัดกรุงเทพมหานคร-เมืองพัทยา เป็นต้น นักเรียนมัยมศึกษาตอนปลายหลายคนมีความมุ่งมั่นและใฝ่ฝันที่จะประอาชีพครู เนื่องจากรับรู้ว่าเป็นอาชีพรับราชการที่มีความมั่นคงและมีเกียรติอย่างมากอาชีพหนึ่งในสังคม รวมทั้งเป็นจิตอาสาในการถ่ายทอด อบรม และสั่งสอนความรู้ต่างๆ ให้แก่เด็กและเยาวชนให้ได้เหมือนกับหรือดีกว่าครูที่สอนตนเองมา ในการคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นจะมีระบบการคัดเลือกหลายระบบ ได้แก่ ยื่นแฟ้มสะสมงาน โควต้า (ตามภาค โครงการพิเศษ บุตรของบิดามารดาที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสาขาวิชาที่จะสมัคร บุตรของบิดามารดาผู้เสียสละในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ฯ) ผู้มีความสามารถพิเศษ (ด้านกีฬา ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ฯ) ผู้มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ (แข่งขันระดับประเทศ นานาชาติ) รับตรง/สอบตรง และสอบผ่านระบบคัดเลือกกลาง ซึ่งจะเริ่มรับสมัครในระบบยื่นแฟ้มสะสมงานเป็นอันดับแรกในเดือนกันยายน (ติดตามประกาศรับสมัครได้ทางเว็บไซต์ต่างๆ) หากเป็นสมัยก่อนเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาเป็นการสอบเข้ามหาวิทยาลัยครั้งเดียวและเลือกคณะ 5 อันดับ ปัจจุบันเปิดโอกาสให้เลือกได้ถึง 10 อันดับ ถ้าเตรียมอ่านหนังสือและทำโจทย์อย่างหนักจะมีโอกาสสูงในการสอบติดคณะ สาขาวิชา และมหาวิทยาลัยที่เลือกไว้ แต่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงระบบการรับสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในหลายรูปแบบ

เส้นทางสู่อาชีพครู (ตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัย) Read More »

Scroll to Top