ในตำนานกรีกโบราณกล่าวว่า แม่มดมีเดีย (Medea) หลานสาวของสุริยะเทพฮีลิออส (Helios) ใช้ต้นอะโคไนท์ (Aconite) ซึ่งเป็นดอกไม้ป่าชนิดหนึ่งแถบยุโรป ทำยาพิษนำไปทาชุดและมงกุฎของหญิงสาวนางหนึ่งที่กำลังจะแต่งงานกับอดีตสามีของเธอจนตาย และยังใช้อะโคไนท์ผสมลงในถ้วยไวน์เพื่อฆ่าราชาธีซุส (Theseus) แห่งเอเธนส์ ก่อนปีคริสต์ศักราช 590 ราชาโอดีสยูส (Odysseus) ใช้หอกและลูกธนูชุบสารพิษจากต้นเฮลลิบอร์ (hellebore) ทำลายศัตรู ในแถบเอเชียใต้ เช่น อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา สิกขิมฯ มีบันทึกเป็นภาษาสันกฤตโบราณในคัมภีร์ฤคเวท (Rg Veda) และคัมภีร์อัทธารวะเวท (Atharva Veda) ตอนหนึ่งว่าคนในยุคโบราณรู้จักใช้สารพิษจากต้นอะโคไนท์ ทาหัวลูกธนูและผสมเหยื่อล่อในการต่อสู้ เป็นการบ่งบอกเราว่ามนุษย์ในอดีตมีภูมิปัญญารู้จักนำพิษจากพืชธรรมชาติที่เรียกว่า พิษชีวภาพ (biotoxin) มาเป็นอาวุธทำลายศัตรู ต่อสู้ และล่าสัตว์เป็นเวลานานมาแล้ว
ต้นอะโคไนท์ (Aconitium spp.) เรียกชื่อทั่วไปว่า ต้นมังค์ชูส (Monkshood) วงศ์ Ranunculaceae มีสารพิษอยู่ในรากหัว (tuber) พืชสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 250 ชนิด ชนิดที่มีพิษร้ายแรงมากคือ พันธ์แนพเอ็ลลัส (A. napellus) ดอกสีม่วง และพันธ์ไลก็อกโทนัม (A. lycoctonum) ดอกสีเหลือง ได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งพืชพิษทั้งปวง” พรานป่าในยุโรปนำส่วนรากหัวมาต้มในน้ำ เคี่ยวจนน้ำแห้ง จะได้ยางเหนียวสำหรับทาหัวลูกธนูล่าสัตว์ป่า มีฤทธิ์ฆ่าได้ทั้งสัตว์และคนอย่างรวดเร็ว นักรบนำมาผสมในน้ำเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามในช่วงสงครามยุโรปและเอเชียโบราณ อีกฉายาหนึ่งคือ “นักฆ่าหมาจิ้งจอก (Wolf’s bane หรือ Wolfsbane)” อาจเป็นเพราะว่าสมัยก่อนมีหมาป่าชุกชุมมากเกินไป เข้ามารบกวนและทำลายสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน จึงใช้อะโคไนท์ผสมเนื้อทำเหยื่อล่อเพื่อกำจัดหมาป่า หากคนหรือสัตว์ถูกพิษอะโดไนท์จะตายภายใน 2 – 6 ชั่วโมง ชนเผ่าไมนาโร (Minaro) หรือบร็อคปา (Brokpa) ในเมืองละดาคฮ์ (Ladakh) ชายแดนประเทศปากีสถาน ใช้ลูกดอกชุบสารพิษจากต้นอะโคไนต์เพื่อล่าแพะภูเขา ยังมีการใช้ในประเทศคีร์กิสถานอีกด้วล ชาวไอนุ (Ainu) บนเกาะฮอกไกโด เหนือสุดของประเทศญี่ปุ่นใช้ล่าหมี ชาวบูเทียส (Butias) และเล็ปชาส (Lepchas) ในรัฐสิกขิมและรัฐอัสสัมแกพทิศตะวันออกของประเทศอินเดีย ใช้ล่าสัตว์ ส่วนในประเทศกีนใช้ลูกธนูชุบอะโคไนต์เพื่อล่าสัตว์และต่อสู้
พวกอินเดียนแดงชนเผ่าพื้นเมืองในอเมริกาเหนือ เช่น อะปาเช่ (Apache) นาวาโฮ (Navajo) เอร์รากี () ฯ ใช้น้ำยางพิษจากพืชบางชนิดทาปลายลูกธนูและหอกสำหรับใช้ล่าสัตว์และต่อสู้ พืชที่ใช้บ่อย คือ เปลือกและใบของต้นสนยิว (Yew ; Taxus spp.) วงศ์ Taxaceae ยางต้นยัคคา (Yucca spp.) วงศ์ Asparagaceae นอกจากนี้ใช้ต้นป๊อปปี้สีทองแห่งอเมริกา (American golden poopy; Eschscholzia california) และต้นรากเลือด (Bloodroot ; Sangguinaria canadensis) วงศ์ Papveraceae รวมทั้งพืสสกลลำโพง (Datura spp.) วงศ์ Solanaceae ดอร์นไลลี (Cornlily ; Veratrum californicum) วงศ์ Melanthiaceae เฮลลิบอร์ (Helleborus foetidus) วงศ์ Ranunculaceae เป็นต้น จุ่มปลายลูกธนูในน้ำยางหรือนำพืชมาต้มแล้วแช่ลูกธนู เตรียมลูกธนูไว้จำนวนมากด้วการเก็บไว้ในกระบอกไม้ที่ด้านล่างเป็นดินเหนียวปั้นเป็นรูปกรวย
ชนเผ่าพื้นเมืองในอัฟริกา ชุบปลายลูกธนูและหอกด้วยสารพิษโดยมีเป้าหมายเพื่อล่าสัตว์ขนาดใหญ่ซ่งลกธนดามปกดิล่มสัดว์หนาดให่กไม่ได้ สารพิษที่ใช้ได้มาจากพิษงู พืช ตัวอ่อนแมลง แมงมุม และคางคก พรานป่าอัฟริการู้จักเลือกใช้พืชมีพิษเรน ดอกหางกระรอก (Tail flower หรือ Poison rope) เป็นพืชในสกุลสโดรแฟนดัส (Strophantus) ที่ใช้มากที่สุดคือพันธ์ดอมเพ (S. kombe) มีสารพิษแซมเลซี (Zambezi) นิผมใช้มากในอัฟริกากลาง ตะวันออก และใต้ รองลงมาคือพันธ์แอมโพเอ็นซิส (S. amboensis และพันธ์ฮิสปิดัส (S. hispidus) มีสารพิษไอนี (Inee) หรือโอนาเพ (Onaye) ที่เรีพกในกาษาอัฟริกัน ใช้มากในแถบอัฟริกาตะวันตก (เซเนกัล แกมเบีย กินี กาบอง ฯ) พันธ์สปีโอซัส (S. speciosus) ใช้มากในอัฟริกาใต้ พันธ์กราดัส (S. gratus) ใช้มากในอัฟริกาแถบเส้นศูนย์สูตร (ฯ) การนำพิษมาใช้โดยการบดเมล็ดจนละเอียดแล้วผสมกับน้ำลายพรานป่าหรือผสมกับยางไม้เพื่อให้เหนียว ทาหัวลูกธนูแล้วตากแดดจัดไว้หลายชั่วโมงก่อนนำไปใช้งาน สัตว์ที่ถูกยิงด้วยลูกธนูชุบพืชพิษจะตายภายใน 20 นาที พืชสกุลอะก็อก (Acok spp.) เช่น อ๊อฟลองอิฟลอรา (A. oblongiflora) อ๊อพโพซิดิโฟเลีก (A. oppositifolia) และซิมเพอริ (A. schimperi) ที่รู้จักกันดีในชื่อ “พิษของพรานป่า (Bushman’ poison)” “ความหวานแห่งฤดูหนาว (Winter-sweet)” เก็ปลำต้น ใบ และราก นำมาตัดเป็นแผ่นบางๆ ใส่ภาชนะเติมน้ำแล้วต้มเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทิ้งไว้จนน้ำระเหยออกหมด แยกกากทิ้ง จะได้ยางสีดำเหนียว ตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ภาชนะหรือห่อซ่อนไว้ นำก้อนนี้มาผสมกับน้ำหรือยางไม้ ทาหัวลูกธนู มีประสิทธิภาพในการฆ่าสัตว์ป่าน้ำหนักราว 50 กิโลกรัมได้ภายใน 20 นาที นับว่ามีพิษร้ายแรงจริงๆ
พืชวงศ์ Euphorbiaceae สกุลยูโฟเบีย (Euphorbia spp.) มียางเหนียวสีขาวคล้ายน้ำนม (latex) หลายชนิดมีสารพิษในน้ำยาง เช่น สลัดได (E. antiquorum) ไวโรซา (E. virosa) ซับซาลา (E. subsala) เป็นต้น ถากลำต้นแล้วเก็บน้ำยางนำไปทาหัวลูกธนู หรือนำน้ำยางมาอุ่นด้วยไฟอ่อนๆ ให้เหนียวข้นแล้วเก็บไว้ใช้ สุดยอดพืชพิษในวงศ์นี้ คือ ละหุ่ง (castor bean; Ricinus communis) ในเมล็ดมีสารพิษชื่อว่า “ไรซิน (ricin)” มีพิษร้ายแรงเช่นกัน หากร่างกายได้รับเพียง 0.2 มิลลิกรัมขึ้นไป หรือเด็กประมาณ 1-2 เมล็ด ผู้ใหญ่ประมาณ 8 เมล็ด พิษร้ายแรงกว่าพิษงูเห่างถึง 2 เท่า จัดเป็นสารพิษจากพืชที่มีความรุนแรงมากที่สุดในโลก หลังจากได้รับพิษไรซินจะปวดท้องรุนแรง ท้องเสีย อาเจียน และตายภายใน 36-48 ชั่วโมง โดยไม่มียาต้านพิษใดๆ ที่จะนำมาใช้รักษาได้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2457-2461) สหรัฐอเมริกาวิจัยและพัฒนากระสุนปืนเคลือบสารไรซินและแบบผงบรรจุในกระสุนระเบิดแต่ยังไม่ได้นำมาใช้เพราะสงครามยุติลง ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2488) สหรัฐอเมริกาและแคนาดาร่วมกันวิจัยและพัฒนาระเบิดมีส่วนประกอบของไรซินเพื่อมุ่งหวังการทำลายล้างเป็นวงกว้าง มีการขยายการผลิตเชิงการค้าและทดลองภาคสนาม แต่พบว่าไม่คุ้มทุน จึงเปลี่ยนมาใช้แก๊สฟอสจีน (phosgene) หรือ คาร์บอนิลคลอไรด์ (carbonyl chloride) เป็นแก๊สพิษชนิดหนึ่งที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ในอังกฤษได้วิจัยและพัฒนาอาวุธที่ประกอบด้วยไรซินเช่นเดียวกัน มีชื่อว่า “Compound W” แต่ไม่ได้นำใช้ทำสงคราม นักการข่าวรายว่าในอดีต หน่วยเคจีบีของสหภาพโซเวียตครอบครองสารพิษไรซิน แต่ไม่มีการยืนยันแน่ชัด เมื่อปี พ.ศ. 2521 มีรายงานข่าวนักหนังสือพิมพ์ชาวบัลแกเรียที่อาศัยในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขียนข่าวต่อต้านรัฐบาลบัลกาเรีย วันหนึ่งถูกแทงด้วยปืนปลายร่มอัดแก๊สและเสียชีวิตในเวลาอีก 4 วันต่อมา จากการตรวจสอบพบว่าเขาถูกพิษของไรซิน และยังมีรายงานข่าวการจับกุมผู้ต้องสงสัยครอบครองสารกาศพิษไรซินสำหรับใช้เป็นอาวุธ หลายฝ่ายหวั่นเกรงว่าผู้ก่อการร้ายอาจทำอาวุธพิษไรซินในลักษณะฝุ่นผงแพร่ไปในอากาศ ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ผู้ที่ผลิตหรือมีสารไรซินไว้ในครอบครองมีโทษจำคุก 30 ปี และไรซินถูกควบคุมตามประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กําหนดยุทธภัณฑ?ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ? พ.ศ. 2530 ข้อ 2 กําหนดให้อาวุธ เครื่องอุปกรณ?ของอาวุธ สารเคมี สารชีวะ สารรังสีหรือสารนิวเคลียร์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนําไปใช?ในการรบหรือการสงครามได? ข้อ 2.2 สารเคมีที่ใช?ในการสงครามเคมี
Ricin, CAS NO. 9009-86-3 ยุทธภัณฑ?ควบคุมตามบัญชี 1A (Toxic Chemicals) อนุสญญาห?ามอาวุธเคมี มีพืชอีกชนิดหนึ่งที่คล้ายกับละหุ่ง คือ สลอด (Croton Oil Plant/Purging Croton; Croton tiglium) เคยมีข่าวเด็กนักเรียนในชนบทกินเมล็ด มีอาการท้องร่วงรุนแรงจนร่างกายขาดน้ำแล้วตาย ในชนบทบางแห่งเคยมีข่าวการลักลอบใส่ผงเมล็ดสลอดในโอ่งน้ำดื่ม ทำให้คนในหมู่บ้านท้องร่วงหลายคน
น้อยหน่า (Annona squamosa) วงศ์ ANNONACEAE ในเมล็ดมีสารพิษชื่อแอนโนนิน (annonin) มีฤทธิ์ฆ่าเหา แมลงศัตรูพืช
แมลงสาบ ยุง เห็บ หมัด ตอนเป็นเด็ก คุณครูเอาเมล็ดมาบดให้แตกแล้วแช่ไว้ในน้ำคืนหนึ่ง นำน้ำหมักมาชโลมผมกำจัดเหาได้ชงัก รวมทั้งหิดตามง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า
พืชในวงศ์ Adocynaceae หลายชนิดมีพิษ เช่น Adenium boehmianum นำกิ่งและรากมาต้มให้ยางแยกออกมาแล้วใช้ไม้ป้ายยางเหนียวผึ่งลม วัชพืชน้ำนม (Milkweed) หรือโมโฮแลนท์จา (Moholantja; Asclepias stellifera) วงศ์ Amaryllidoideae เช่น กิฟโบล (Gifbol) หรือวัชพืชล้มลุก (trumbleweed; Boophane disticha) พืชพื้นเมืองในอัฟริกา เป็นต้น
สารพิษจากพืชตัวต่อมาที่มีพิษร้ายแรงคือ “สตริกนิน (Strychnine)” มีชื่อเรียกอย่างอื่น เช่น Strychnidin-10-one, Strychnos, Stricnina, Certox, Sanaseed เป็นต้น ได้อปือกากปื่อสกท “สตริกโนส (Strychnos)” มาจาภาษากรีกหมายถึง nightshade and manikos = ความเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางที่ทำให้เป็นบ้า (mad, recalling the toxicity of the ulant on the central nervous system) เป็นสารพิษชนิดอัลคาลอยด์ (= สารสารอินทรีย์ที่ได้จากพืช มีสมบัติเป็นเบส ในโมเลกุลจะประกอบด้วยธาตุไนโตรเจนอย่างน้อย 1 อะตอม) พบในพืชเขตร้อนหลายชนิด เช่น เมล็ดต้นแสลงใจ (nux vomica tree) ที่รู้จักกันดีว่าเป็นพืชพิษที่ร้ายแรงถึงกับเรียกว่า “พืชงูพิษ (Snake wood)” แสลงใจมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Strychnos nux-vomica เป็นพืชจัดอยู่ในวงศ์กันเกรา (LOGANIACEAE หรือ STRYCHNACEAE) พันธุ์ไม้ในวงศ์นี้แพร่กระจายในเขตร้อนทั่วโลก มีประมาณ 20 สกุล 400 ชนิด กระจายพันธุ์ในประเทศไทย 6 สกุล 27 ชนิด พบในป่าพรุ 2 สกุล 6 ชนิด เป็นไม้ต้น 1 ชนิด เช่น ตีนเป็ดทราย ตีนเป็ดน้ำ โมก เป็นต้น คนไทยเรียกกันหลายชื่อเช่น ตุมกาแดง โกฐกะลิ้ง แสลงทม แสลงเบื่อ แสงโทน แสลงโทน แสงเบื่อ กระจี้ กะกลิ้ง ดีหมี ว่านไฟต้น ฯ และพบว่าในตำรับยาสมุนไพรไทยโบราณใช้ในปริมาณที่พอเหมาะไม่ถึงกับเป็นพิษ แต่ปัจจุบันถูกควบคุมโดยกระทรวงสาธาาณสุขจัดเป็นยาแผนโบราณที่เป็นยาอันตราย ไม่อนุญาตให้ใช้ในตํารับยาแผนโบราณ เช่น โกฐกะกลิ้ง (Strychnos nux-vomica) ยกเว้นยาที่ผลิตขึ้นโดยมีโกฐกะกลิ้งสําหรับรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 60 มิลลิกรัม เมล็ดตีนเป็ดทราย (Cerbera manghas) และเมล็ดตีนเป็ดน้ำ (Cerbera odollam) ยกเว้นยาที่ผลิตขึ้นสําหรับใช้ภายนอก พญามือเหล็ก (Strychnos lucida R.Br. (Strychnos roberans) ยกเว้นยาที่ผลิตขึ้นโดยมีเนื้อไม้และ/หรือเปลือกพญามือเหล็กคิดเป็นน้ำหนักเนื้อไม้และ/หรือเปลือกแห้งสําหรับรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 60 มิลลิกรัม เมล็ดในพญามือเหล็กเถา (Strychnos ignatii) และ Bergius (Strychnos krabionsis) ยกเว้นยาที่ผลิตขึ้นโดยมีเมล็ดในพญามือเหล็กเถาสําหรับรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 60 มิลลิกรัม เป็นต้น
สตริกนินถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อว่า Joseph-Bienaim Caventou และ Pierre-Joseph Pelletier เมื่อปี ค.ศ. 1818 (พ.ศ. 2361) ในเมล็ดต้นต้นพญามือเหล็ก (Saint-Ignatius; Strychnos ignatii) พืชเถาเลื้อยชนิดหนึ่งในประเทศฟิลิปปินส์ ในยุโรปนำมาใช้สำหรับป้องกันและกำจัดสัตว์รบกวน มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 สตริกนินเป็นสารไม่ละลายในน้ำ แต่ละลายในแอลกอฮอล์และสารละลายอินทรีย์ มีรสขม มีพิษร้ายแรงถึงตายในคนและสัตว์ต่างๆ ในคนปริมาณที่พิษทำให้ตายคือ 15-30 มิลลิกรัม สตริกนินเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ ดูดซึมผ่านเยื่อบุนัยน์ตา/ปาก และการกิน นักเขียนชอบนำอาการของคนที่ได้รับพิษจากสตริกนินมาเป็นส่วนประกอบของนวนิยายและภาพยนตร์ ในอดีตนิยมใช้ผสมเหยื่อกำจัดหนู ตุ่น และหมาป่า ระดับความเป็นพิษผ่านทางการกินมีค่า LD50 (Lethal Dose เป็นขนาดของยาหรือสารที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวน 50% ภายใน 14 วัน) ในสุนัข โค กระบือ ม้า และสุกร ระหว่าง 0.5-1 มิลลิกรัม และในแมวที่ 2 ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ด้วยเหตุที่เป็นสารพิษร้ายแรงจึงถูกควบคุมการใช้เป็นส่วนผสมของเยื่อกำจัดสัตว์รบกวนชนิดเม็ดในปริมาณไม่เกิน 0.5% ย้อมเป็นสีแดงหรือเขียวให้มองเห็นแตกต่างจากลักษณะเดิมเป็นเกล็ดสีขาวคล้ายเกลือ สุนัขและแมวมักโดนพิษมากกว่าสัตว์ใหญ่ ภายหลังสตริกนินถูกทำให้แตกตัวในภาวะเป็นกรดของกระเพาะอาหารแล้วต่อมาจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดที่ผนังลำไส้แพร่ไปยังเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ อย่างรวดเร็ว แสดงอาการเป็นพิษภายใน 30-60 นาทีเท่านั้น มีอาการทางประสาท กล้ามเนื้อเกร็ง อ่อนแรง อาเจียน ชักกระตุกอย่างรุนแรง ในสัตว์จะยืนขายืดไปข้างหน้าข้างหลัง (sawhorse stance) สูญเสียการทรงตัว เป็นไข้ อาจหยุดหายในในทันที เยื่อบุมีสีคล้ำเนื่องจากเซลล์ขาดออกซิเจน ม่านตาขยาย และตายในที่สุด เนื่องจากอาการอ่อนเพลียและขาดอากาศหายใจระหว่างชักกระตุก ถ้าไม่รักษาจะตายภายใน 1-2 ชั่วโมง สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นนั้น นายสัตวแพทย์ธีรภาพ มุสิกานนท์ แนะนำว่าหากสุนัขกินเหยื่อพิษเข้าไปที่ยังไม่แสดงอาการชักหรือหมดสติ หลังจากได้รับสารพิษมาไม่เกิน 2-4 ชั่วโมง ให้กระตุ้นให้อาเจียนเพื่อช่วยลดหรือชะลอความเป็นพิษ โดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3 % ป้อนขนาด 1-5 ซีซี ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือป้อนน้ำเชื่อมไอปิแค็ค 7 % (Ipecac) ป้อนขนาด 1-2 ซีซี. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยอาจเจือจางด้วยน้ำในอัตราส่วน 1:1 หลังจากอาเจียนเอาสารพิษออกมาแล้วให้ทำการป้อนผงถ่าน (Activated charcoal) เพื่อเข้าไปช่วยดูดซับสารพิษ ในขนาด 0.5-4 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 10 เท่าของปริมาตรสารพิษที่รับเข้าไป โดยผสมผงถ่าน 1 กรัมในน้ำ 5 มิลลิลิตร (ซีซี.) แต่หากสุนัขมีอาการชัก ต้องรีบส่งโรงพยาบาลสัตว์หรือคลินิกสัตว์ใกล้บ้าน ส่วนในคนทางศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำให้กระตุ้นให้อาเจียน ซึ่งได้ผลดีในการกำจัดสารพิษภายในเวลา 4 ชั่วโมงหลังรับประทานสารพิษเข้าไป แต่ถ้าหลังจาก 12 ชั่วโมงไปแล้วไม่ค่อยได้ผล มีข้อห้ามถ้าผู้ป่วยหมดสติและไม่มีการตอบสนองหลังจากทดสอบรีเฟล็กซ์การขย้อน (gag reflex) โดยการใช้ไม้กดลิ้นหรือไม้พันสำลียาวแตะที่โคนลิ้นแล้วผู้ป่วยไม่อาเจียน ให้ผู้ป่วยดี่มน้ำ 1-2 แก้วแล้วล้วงคอให้อาเจียน วิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยแม้ประสิทธิภาพไม่ค่อยดีนักแต่ก็ยังมีประโยชน์ในการปฐมพยาบาลผู้ป่วยสารพิษที่ยังไม่ถึงโรงพยาบาล วิธีที่ได้ผลดีและปลอดภัยที่สุด คือการให้น้ำเชื่อมไอปิแค็ค ซึ่งเป็นสารสกัดจากพืชโดยมีสารที่สำคัญ 2 ชนิด คือ emetine และ cephaeline เป็นสารสกัดจากพืชสกุล Ipecacuanha วงศ์ Rubiaceae ซึ่งเป็นไม้เถาเลื้อยแถบอเมริกาใต้ สารทั้งสองชนิดนี้ทำให้อาเจียนโดยการกระตุ้น ศูนย์ควบคุมการอาเจียนในสมองและยังทำให้เยื่อบุในกระเพาะอาหารระคายเคือง จึงทำให้เกิดการบีบตัว น้ำเชื่อมไอปิแค็คเตรียมจากน้ำสกัดไอปิแค็ค 6 ซีซี. น้ำส้มสายชู หรือกรดแอซิติกเจือจาง 2.5 ซีซี. และกลีเซอรอล (glycerol) 10 ซีซี. แล้วเติมน้ำเชื่อมจนครบ 100 ซีซี. ป้อนผู้ป่วยในปริมาณ 30 ซีซี. แล้วดื่มน้ำเปล่าตามอีกประมาณ 2 แก้ว ถ้าผู้ป่วยไม่อาเจียนภายใน 20 นาที สามารถที่จะให้น้ำเชื่อมไอปิแค็คอีก 30 ซีซี. ผู้ป่วยจะอาเจียนภายในเวลา 10-20 นาที และขับสารพิษออกมาได้ประมาณครึ่งหนึ่งของที่รับประทานเข้าไป หลังจากรับประทานครั้งแรกแล้วผู้ป่วยประมาณ 80% จะอาเจียน และอีกประมาณ 15% จะอาเจียนภายหลังจากรับประทานครั้งที่ 2 การให้น้ำเชื่อมไอปิแค็คส่วนใหญ่แล้วไม่มีอาการข้างเคียง มีส่วนน้อยอาจจะมีอาการอาเจียนเป็นระยะเวลานานถึง 6 ชั่วโมงได้ ห้ามใช้น้ำสกัดไอปิแค็คเพราะว่ามีความเข้มข้นของสารอัลคาลอยด์มากกว่าน้ำเชื่อมไอปิแค็คถึง 14 เท่า ถ้าผู้ป่วยรับประทานเข้าไปอาจมีอาการข้างเคียง เช่น ท้องเสีย ปวดท้องอย่างรุนแรง ชีพจรเต้นผิดปกติ กล้ามเนื้อไม่มีแรง และชัก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่นที่อาจจะช่วยให้ผู้ป่วยอาเจียน แต่ประสิทธิภาพไม่ดีหรืออาจจะมีอาการข้างเคียงได้ เช่น การให้ดื่มน้ำเกลือเข้มข้น ซึ่งนอกจากจะไม่ดีแล้วผู้ป่วยยังอาจเกิดภาวะเกลือเกินได้โดยเฉพาะในเด็ก ที่สำคัญต้องรีบนำส่งผู้ป่วยไโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ลูกดอก-ลูกธนูอาบยาพิษ จัดเป็นอาวุธไม้ตายยุคโบราณ ชนพื้นเมืองในอเมริกาใต้ อัฟริกา และเอเชีย ใช้ยางไม้จากพืชบางชนิดทาหัวลูกดอกเพื่อยิงสัตว์ทำให้สลบจนถึงตาย ในยางไม้ชนิดหนึ่งมีสารพิษชื่อว่า แอนเทียริน (Antiarin) มีอยู่ในต้นยางน่อง (Upas tree) คำว่า Upas เป็นภาษาชวา ประเทศอินโดนีเซีย หมายถึง พิษ ต้นยางน่องมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Antiaris toxicaria เป็นพืชวงศ์ Moraceae มีชื่ออื่นๆ เช่น น่อง น่องยางขาว ยางน่อง นอ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) เมี่ยนเดีย (เมี่ยน) ด่องชั่ว (ม้ง) เป็นต้น ชนพื้นเมืองเก็บยางน่องด้วยวิธีบากเปลือกและเจาะลำต้นแล้วตอกซีกไม้ไผ่ตอกเข้าไปรองรับน้ำยาง หรือเก็บในปริมาณเล็กน้อยจะใช้ใบ ต่อจากนั้นนำมาอังไฟอ่อนๆ เพื่อทำให้แห้งได้ยางสีดำ สารแอนเทียรินเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในพืชออกออกฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac glycoside) มีฤทธิ์คล้ายสตริกนิน มีค่า LD50 ประมาณ 0.1 มิลลิกัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พรานป่านำมาผสมกับเมล็ดของต้นพญามือเหล็กเถา (Strychnos ignatii) ออกฤทธิ์รุนแรงมากขึ้น นำมาชุบหัวลูกดอกและลูกธนู ใช้สำหรับล่าสัตว์และเป็นอาวุธร้ายแรง ในประเทศจีนรู้จักกันดีในฉายา “ต้นลูกธนูอาบยาพิษ” มีพิษร้ายแรงถึงกับมีการเปรียบเปรยคนที่ถูกพิษว่า “ขึ้น 7 ลง 8 ทางเรียบ 9” หมายความว่าเดินขึ้นเขาได้ไม่เกิน 7 ก้าว เดินลงเขาได้ไม่เกิน 8 ก้าว และเดินบนทางเรียบได้ไม่เกิน 9 ก้าวแล้วต้องตาย มีเรื่องเล่าถึงพิษร้ายแรงของต้นยางน่องว่า ไม่เคยมีใครเข้าไปถึงต้นของมันได้นอกเสียจากว่าต้นล่มตายแล้ว ในปี ค.ศ. 1783 (พ.ศ. 2326) ที่ประเทศอังกฤษเคยมีสัตว์ตายจากพิษยางน่องเป็นวงกว้างรัศมีราว 15 ไมล์ ผู้ประสงค์ร้ายมักใช้เป็นเหยื่อล่อหรือปลอมปนในอาหารเพื่อกำจัดเหยื่อ เหล่าพลพรรคนินจานักรบที่เก่งกล้าในแดนซามุไร ก็ใช้สารพิษชุบหัวลูกดอกแล้วเป่าผ่านท่อเล็งไปยังคอของเหยื่อที่มีเส้นเลือดใหญ่ ทำให้สารพิษถูกดูดซึมได้อย่างรวดเร็วแล้วอ่างรวดเร็ว คนหรือสัตว์ที่ถูกพิษยางน่องจะมีอาการเกร็งบริเวณศีรษะและคอ ชัก อุจจาระราด เป็นอัมพาต หายใจติดขัด หยุดหายใจแล้วตายในที่สุด ยังมีพืชพิษอื่นๆ ที่นำมาใช้เป็นอาวุธ เช่น รากหางไหล (Derris elliptica) วงศ์ นำมาใช้ชุบหัวลูกดอกในบางท้องถิ่น
สารพิษคูราเร (Curare) ได้จากพืชหลายชนิดในทวีปอเมริการใต้ (wourali tree) เช่น Strychnos toxifera, S. castelnaei, S. crevauxii, S. guianensis, Sciadotenia toxifera และ Chondodendron tomentosum ใช้ล่าสัตว์ในหมู่พรานอินเดียแดงทวีปอเมริกาใต้ ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อลายหมดแรง ระบบหายใจล้มเหลว หมดสติ และตาย สารพิษพาไรรา (Pareira) จากรากของต้น Marsh Labrador tea (Chondodendron tomentosum) วงศ์ Ericaceae ลูกดอกชุบสารพิษในชนพื้นเมืองอัฟริกาตะวันตกแถบประเทศโตโกและแคมารูน ได้จากพืชที่มีสารออกฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจหลายชนิดในวงศ์ Apocynaceae เช่น อะโกแกนเทอรา (Acokanthera spp.) โอลีนเดอร์ (Oleander; Nerium oleander) ฯ
ชนพื้นเมืองในประเทศอินเดีย (แคว้นอัสสัม) เมียนมาร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯ ร้กนำพืชในสกุลยางน่อง (Antiaris spp.) แสลงใจ (Strychnos spp.) และสโตรแฟนทัส (Strophanthus spp.) สารพิษแอนเทียริน (Antiarin) มีอยู่ในต้นยางน่อง (Antiaris toxicaria) สารพิษมีมากในน้ำยางและเมล็ด ถ้าสารพิษนี้ผสมกับสารพิษจากพืชชนิดอื่น เช่น สตริกนินจากเมล็ดแสลงใจ หรือสโตรแฟนทิน จะออกฤทธิ์เร็วขึ้น โดยที่ไปทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีอาการชัก เป็นอัมพาต และหัวใจหยุดเต้น
ชาวแคริบเบียน ชุบลูกธนูด้วยสารพิษจากพืชวงศ์ Euphorbiaceae เช่น Hippomane mancinella, Hura crepitans และหัวมันสำปะหลัง (Manihot esculenta) ชนพื้นเมืองอเมริกาใช้พิษจากพืชวงศ์ Papaveraceae เช่น ต้นป๊อปปี้สีทอง (golden poppy; Eschscholzia californica) ต้นรากเลือด (Bloodroot; Sanguinaria canadensis) วงศ์ Melanthiaceae เช่น พืชสกุลเวอราตรุม (Veratrum spp.) หรือ corn lilie และวงศ์ Solanaceae สกุลดาตูรา (Datura spp.)
ในพืชสดหลายชนิดมีสารพิษจำพวกก่อให้เกิดแก๊สพิษไซยาไนท์ (Cyanide; HCN) ภายหลังเนื้อเยื่อพืชแตกสลาย คือสารไซยาโนจีนิกส์ ไกลโคไซด์ (Cyanogenic glycoside) เช่น ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง ไมยราบ ผักเสี้ยน ผักหนาม เป็นต้น ไกลโคไซด์นี้ถ้าถูกย่อยสลายจะปลดปล่อยไซยาไนด์ซึ่งสามารถจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ไม่ได้ เกิดภาวะขาดออกซิเจน แล้วเสียชีวิตได้ เคยมีข่าวในภาคอีสานว่าวัวควายกินไมยราบแล้วตายหลายตัว มีลักษณะเหงือกสีคล้ำ และสัตวแพทย์ผ่าชากพิสูจน์แล้วพบใบไมยราบสดในกระเพาะในปริมาณมาก จากการทดสอบด้วยวิธี picrate test พบว่าเป็นพืชจำพวกที่มีสารก่อให้เกิดแก๊สพิษไซยาไนด์ ชาวบ้านก็มีวิธีกำจัดสารก่อพิษในพืชด้วยการหมักดอง เช่น ผักเสี้ยนดอง ผักหนามดอง การหมักดองจะมีจุลินทรีย์ย่อยสลาย พืชเกิดกรดแลกติก และทำให้สารพิษในพืชลดน้อยลงไปจนเกือบไม่เหลืออยู่เลย จึงรับประทานได่อย่างปลอดภัย หากไม่ใช้วิธีหมักดอกก็ใช้ความร้อนจากการปรุงอาหาร เช่น ชะอมทอดไข่ ชะอมแกงส้ม เพราะว่าใบชะอมสดมีสารก่อให้เกิดไซยาไนด์แต่มีในระดับต่ำ หากรับประทานสดๆ ในปริมาณมาจะเกิดพิษ แต่ถ้ารับประทานยอดสดๆ ในปริมาณไม่มากนักเป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานาน มีโอกาสเป็นพิษต่อร่างกาย โดยเฉพาะตับและไต การตากแห้ง ช่วยลดสารพิษได้เช่นกัน
ส่วนในประวัติศาสตร์เกาหลีมีบันทึกการใช้สารหนู (Arsenic) หรือภาษาเกาหลีเรียกว่า “เซอั๊ค (sayak)” เป็นยาพิษที่ใช้ในการประหารชีวิตและปองร้ายฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งนักรบใช้ปลิดชีพตัวเองหลังจากถูกข้าศึกจับตัวได้ สารหนูเป็นธาตุกึ่งโลหะ ตามธรรมชาติพบในส่วนประกอบของหิน ถ่านหิน และดิน ปกติสารหนูไม่เป็นพิษแต่จะกลายเป็นสารมีพิษร้ายแรงเมื่อผสมกับสารอื่น เห็นว่าสารหนูมีพิษทำลายรายแรงเช่นเดียวกับพืชพิษหลายชนิดที่นำเสนอข้างต้นแล้วจึงเลือกเอามาบอกต่อท้าย
สรุป
พืชตามธรรมชาติหลายชนิดมีพิษร้ายแรงถึงขั้นทำให้ตายอย่างรวดเร็ว ซึ่งพืชเหล่านั้นได้รับสมญานามว่า “พฤกษามหันตฆาต”
ข้อมูลที่ใช้เรียบเรียง
http://en.wikipedia.org
http://staff.washington.edu
http://medplant.mahidol.ac.th